วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ
  
เสนอ
อาจารย์ พรทิพย์   มหันตมรรค 

จัดทำโดย
นาย เทพปกิต   จันทร์สำเร็จ   
นาย ธวัชชัย   แก้วภักดี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖ ห้อง ๒
ภาคเรียนที่ ๑  ปีการศึกษา ๒๕๕๕

วิทยาลัยนาฏศิลปะนครศรีธรรมราช


คำนำ
    โครงงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี  จัดทำขึ้นเพื่อให้น้องๆรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ประเพณีวันสารทเดือนสิบ และเพื่อง่ายในการจัดการเรียนการสอน

                     หากผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
                                   
                                                                                                                                                                                                  

                                                                                                นาย เทพปกิต   จันทร์สำเร็จ
                                                                                                 นาย ธวัชชัย   แก้วภักดี   
                                                                                               ผู้จัดทำ

























สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                                 หน้า


ความเป็นมา                                                                                                                                           1
ประเภท                                                                                                                                                  2
ชื่อผู้เสนอ                                                                                                                                               2
ชื่อที่ปรึกษา                                                                                                                                            2
แนวคิด                                                                                                                                                  2-3
วัตถุประสงค์                                                                                                                                          3
หลักการ                                                                                                                                                4-6
ขอบเขต                                                                                                                                                   7
ขั้นตอนการดำเนินงาน                                                                                                                        7
สถานที่                                                                                                                                                    7                                                                                                                              
ผลที่ได้รับ                                                                                                                                                8
อ้างอิง                                                                                                                                                       8



ประเพณีสารทเดือนสิบ     

ความเป็นมา
     
        ประเพณีสารทเดือนสิบวิวัฒนาการมาจากประเพณีเปตพลีของพราหมณ์ ซึ่งลูกหลานจัดขึ้น เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาพวกพราหมณ์จำนวนมากได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาและยังถือปฏิบัติในประเพณีดังกล่าวอยู่ พระพุทธองค์เห็นว่า ประเพณีนี้มีคุณค่า เป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษนำความสุขใจให้ผู้ปฏิบัติ จึงทรงอนุญาตให้อุบาสกอุบาสิกาประกอบพิธีนี้ต่อไปได้ ประเพณีสารทเดือนสิบมีมาตั้งแต่พุทธกาลคาดว่า เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามาในนครศรีธรรมราชจึงรับประเพณีนี้มาด้วย ทำบุญสารทเดือนสิบเมืองคอน เป็นงานบุญเพื่อุทิศส่วนกุศล ให้บรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ยังมีกรรมต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในอบายภูมิ ในวันสารทเดือนสิบ ยมพบาลจะปลดปล่อยให้ออกมาเยี่ยมลูกหลาน เพื่อมารับส่วนบุญกุศลที่บรรดาลูกหลาน ญาติพี่น้องทำบุญให้ มีเพียงปีละครั้ง คือในวัน แรม ๑๔ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ (ซึ่งจะประมาณ ปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือนตุลาคม) พอถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ต้องหลับไปชดใช้กรรมตามเดิม จนกว่าจะหมดเวรหมดกรรมต่อไป

        •งานบุญสารทเดือนสิบ จะเริ่ม ตั้งแต่วัน แรม ๑๓ ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่าวันจ่าย พ่อค้าแม่ค้าจะนำของมาขาย ที่ตลาดทุกแห่ง จะคลาคล่ำไปด้วยฝูงชนมาจับจ่ายซื้อของ เพื่อเอาไปจัด หมรับ ต้องใส่ พืชผักผลไม้และที่สำคัญต้องมีขนมเดือนสิบ มีขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซัม ขนมไข่ปลา ข้าวกระยาสารท และขนมอื่นๆ ทั่วไปที่มีขายในตลาด

        •วันแรม ๑๔ ค่ำ เป็นวันยก หมรับไปถวายวัด มีการตกแต่งกันอย่างสวยงามตามฐานะของแต่ละคน หรือหมู่คณะ มีขบวนแห่กันครึกครื้น สวยงาม มีการประกวด หมรับ เพื่อชิงรางวัล ถือเป็นงานประจำปีอันยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกว่า "งานเดือนสิบ"

        •วันแรม ๑๕ ค่ำ จะเป็นวันทำบุญอีกเป็นวันสุดท้าย เมื่อถวายเพลพระ และบังสกุลเสร็จแล้ว ก็จะเอาขนมเดือนสิบ ไปวางไว้ ตามต้นไม้ หรือกำแพงวัด แต่บางวัดได้จัดที่วางไว้ให้ โดยเฉพาะ เรียกว่าการ "ตั้งเปรต" คือให้พวกผีไม่มีญาติ ได้กิน หลังจากการตั้งเปรตและอุทิศส่วนกุศลแล้ว บุคคลทั่วไปเข้าไปแย่งชิงขนมเหล่านั้นได้ เรียกว่า "ชิงเปรต" เป็นอันเสร็จสิ้นการทำบุญสารทเดือนสิบ
        ช่วงเวลา ระยะเวลาของการประกอบพิธีสารทเดือนสิบมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำถึงแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ แต่วันที่ชาวนครศรีธรรมราชนิยมทำบุญคือวันแรม ๑๓-๑๕ ค่ำ

ประเภท
ประเพณีท้องถิ่นภาคใต้
เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ ของประเทศไทย โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบจะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบของทุกปีแต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะ นิยมทำบุญกันมากคือวันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบโดยในส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายน

ผู้นำเสนอ
นาย เทพปกิต จันทร์สำเร็จ และ  นาย ธวัชชัย   แก้วภักดี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ที่ปรึกษา
จิระวัฒน์ แสงหว้า ผู้รู้ทางด้านประเพณีวันสารทเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช
แนวคิด
 ถือเป็นความพยายามของมนุษย์ ที่มุ่งทดแทน พระคุณบรรพบุรุษ แม้ว่าจะล่วงลับไปแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวไทยทุกคน ควรต้องยึดถือปฏิบัติ รวมทั้งปลูกฝังให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อๆไป อย่างน้อย หากมนุษย์ระลึกถึงเรื่องเปรต ก็จะสำนึกถึง บาปบุญคุณโทษ รวมทั้งการแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวที ที่เป็นหัวใจสำคัญ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างสงบสุข ตลอดไป
ความเชื่อของพุทธศาสนิกชน ชาวนครศรีธรรมราช เชื่อว่าบรรพบุรุษ อันได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย และ ญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความดีไว้ เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ จะได้ไปเกิดในสรวงสวรรค์ แต่หากทำความชั่ว จะตกนรก กลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญ ที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้ในแต่ละปี มายังชีพ ดังนั้น ในวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลาย ที่เรียกว่า เปรต จึงถูกปล่อยตัว กลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาขอส่วนบุญ จากลูกหลาน ญาติพี่น้อง และจะกลับไปนรกดังเดิม ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ในวันแรม 15 ค่ำเดือนสิบ โอกาสนี้เองลูกหลาน และผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที
วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติ และเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาส ได้กลับมารับส่วนบุญ จากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ไปให้ญาติในวันนี้ และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้ว ญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่ และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข
อีกประการหนึ่ง สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลัก ในช่วงเดือนสิบนี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญ เพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือ ผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก
วัตถุประสงค์
ประเพณีสารทเดือนสิบ มีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ กับ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้อง ผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่ด้วยเหตุที่วิถีชีวิตของชาวนครศรีธรรมราช เป็นวิถีชีวิตแห่งพระพุทธศาสนา ในสังคมเกษตรกรรม จึงมีความมุ่งหมายอื่นร่วมอยู่ด้วย
1) เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้กับ พ่อ แม่ ปู่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง หรือบุคคลอื่นผู้ล่วงลับไปแล้ว
2) เป็นการทำบุญ ด้วยการเอาผลผลิตทางการเกษตร แปรรูปเป็นอาหารถวายพระสงฆ์ รวมถึง การจัดหฺมรับ ถวายพระ ในลักษณะของ “สลากภัต” นอกจากนี้ ยังถวายพระ ในรูปของผลผลิตที่ยังไม่แปรสภาพ เพื่อเป็นเสบียงแก่พระสงฆ์ ในช่วงเข้าพรรษาในฤดูฝน ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเอง ครอบครัว และเพื่อผลในการประกอบอาชีต่อไป
3) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริงประจำปี เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกประเพณี ของชาวนคร แต่ประเพณีนี้มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆ ปี เรียกว่า “งานเดือนสิบ” ซึ่งงานเดือนสิบนี้ ได้จัดควบคู่กับประเพณีสารทเดือนสิบ มาตั้งแต่ .. 2466 จนถึงปัจจุบัน
หลักการ
การปฏิบัติพิธีกรรมการทำบุญสารทเดือนสอบ มี 3 ขั้นตอน คือ
1) การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ
2) การฉลองหมฺรับและการบังสุกุล
3) การตั้งเปรตและการชิงเปรต
การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ
การจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้จัดหมฺรับ เริ่มขึ้นในวันแรม 13 ค่ำ วันนี้เรียกกันว่า "วันจ่ายตลาดต่างๆ จึงคึกคักและคลาคล่ำไปด้วยฝูงชนชาวบ้าน จะซื้ออาหารแห้ง พืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ข้าวของเครื่องใช้ ในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ จัดเตรียมไว้สำหรับใส่หมฺรับ และ สำหรับนำไปมอบให้ผู้ใหญ่ ที่ตนเคารพนับถือ
ขนมหวาน 5 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของงานบุญเดือนสิบ คือ

1. ขนมพอง
เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพตามคติทางพุทธศาสนา
 2. ขนมลา
เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
 3. ขนมกง (ขนมไข่ปลา)
เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
4. ขนมดีซำ
เป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ย สำหรับใช้สอย
5. ขนมบ้า
เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับญาติผู้ตายใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์

ขอบเขต
ก่อนวันงาน ชาวบ้านจะทำขนมที่เรียกว่า กระยาสารท  และขนมอื่นๆ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ในวันงานชาวบ้านจัดแจงนำข้าวปลาอาหารและข้าวกระยาสารทไปทำบุญตักบาตรที่วัดประจำหมู่บ้าน ทายก ทายิกาไปถือศีล เข้าวัด ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล นำข้าวกระยาสารท หรือขนมอื่น ไปฝากซึ่งกันและกัน ยังบ้านใกล้เรือนเคียง หรือหมู่ญาติมิตรที่อยู่บ้านไกล หรือถามข่าวคราวเยี่ยมเยือนกัน บางท้องถิ่นทำขนม สำหรับบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม่พระโพสพ ผีนา ผีไร่ด้วย เมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้ว ก็นำไปบูชาตามไร่นา โดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้ 

 

ขั้นตอนการดำเนินการ

 

ที่
เรื่อง
ระยะเวลา
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
คิดหัวข้อโครงงาน
ศึกษาข้อมูลโครงงาน
จัดทำโครงงาน
ปฏิบัติโครงงาน
นำเสนอครั้งที่ 1
นำเสนอครั้งที่ 2
ปรับปรุง
จัดทำโครงงาน
ประมูลโครงงาน
นำเสนอผ่านบล็อก
31 / ก.ค /55
1/ ส.ค /55
2-3/ ส.ค /55
4-5 /ส.ค/ 55
7-8 / ส.ค/ 55
9-10 /ส.ค /55
11 /ส.ค /55
12 /ส.ค /55
13 /ส.ค /55
14 /ส.ค /55

สถานที่
ณ บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) อำเภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช

ผลที่ได้

       เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อบรรพชนผู้มีพระคุณ เพราะเชื่อกันว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ และญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่ มีโอกาสหมดหนี้กรรม ได้ไปเกิด หรือมีความสุข

          ได้แสดงความเอื้อเฟื้อให้แก่เพื่อนบ้าน เป็นการผูกมิตรไมตรีกันไว้ เนื่องจากชาวบ้านจะทำขนมกระยาสารทไว้แจกจ่ายกันตามหมู่บ้าน บ้านใกล้เรือนเคียง ทำให้ได้พบปะกัน

          เป็นการแสดงความเคารพ และอปจายนธรรมแก่ผู้หลักผู้ใหญ่

          เป็นการกระทำจิตใจของตนให้สะอาดหมดจด ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ ขจัดความตระหนี่ได้

          เป็นการบำรุง หรือจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป

          เป็นแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ หรือผีไร่ ผีนาที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี เนื่องจาก สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม การทำนาเป็นอาชีพหลัก ในช่วงเดือน 10 นี้ ข้าวกล้ากำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงขอบคุณตอบแทน
อ้างอิง
ขอบขอบคุณ จิระวัฒน์ แสงหว้า ผู้รู้ทางด้านประเพณีวันสารทเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีวันสารทเดือนสิบ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น